과거 오랜 시간 여성은 가정을 돌보는 동시에, 남성과 함께 힘을 모아 가정 경제를 꾸리는 주체였다. 하지만 여성의 의무가 집안일에 국한되면서 사회는 가부장중심으로 변했다. '여성은 집안에 머물며 가족을 돌보고, 남성은 밖에 나가서 일을 해 돈을 벌어온다.' 이런 구조는 남녀 차별을 불러왔고, 남성의 지위를 강화시켰다. 사회 생활을 통해 입신양명을 이루고 가문의 이름을 높일 수 있었기 때문이다. 반면 일부 모계 중심 사회에선 여성이 집안일과 사회 생활을 병행하는 것을 허용해왔다. 이런 사회에선 남성도 최대한 집안일을 도와야 했다.
시간이 흐르면 사회의 가치관도 변한다. 최근에는 여성의 사회 생활을 장려하는 것이 세계적인 추세다. 여성도 밖에서 돈을 벌 권리가 있으며, 남성과 같은 사회적 지위를 얻을 수 있다는 것이다.
한국의 경우에는 전통적으로 여성의 역할이 집안일에 국한돼 있었다. 대를 잇기 위해 아이를 낳고, 아이를 유능한 인재로 키우고, 시부모를 돌보는 게 여성의 일이라고 여겼다. 가족을 부양하기 위해 밖에서 일을 하는 주역은 남성이었다. 따라서 결혼이란 남성과 여성의 역할을 안팎으로 명확히 나누는 것이었다. 이런 가치관은 지금까지도 이어지고 있다. 이 때문에 최근 고등 교육을 받은 한국 여성들 중에는 결혼을 꺼리는 이들이 많다. 남성처럼 자유롭게 사회 생활을 하고 싶은데, 가족 시스템은 과거와 크게 달라진 게 없기 때문이다.
한국 사회는 1962년 제1차 경제개발 5개년 계획을 기점으로 여성에게도 근로 기회의 장을 넓혔다. 초창기 여성 근로자들은 공장에서 단순 노동을 주로 담당했다. 당시 한국 여성들은 고된 노동으로 돈을 벌어 오빠나 남동생을 고등학교, 대학교에 보내는 경우가 많았다. 결혼, 출산 이후에는 대부분 일을 그만둬야 했다. 사무직 여성들의 입장도 비슷했다. 미혼 여성들만 계속 직장에 남을 수 있었는데, 그마저도 숫자가 적었다. 회사를 나와서 자기 사업을 시작한 여성들도 있었지만 성공 사례는 많지 않았다. 올해 5월 코스닥(KOSDAQ) 협회가 발표한 자료에 따르면 상장사 대표이사 1212명 중 여성은 단 14명으로 1.1%에 불과했다.
그럼에도 불구하고 몇몇 당찬 여성들은 남녀 불평등이 여전한 사회 구조를 깨기 위해 노력하고 있다. 청년기업인상 교육부장관상을 받은 심여린 스픽케어(Speakcare) 대표, 온라인 소셜 게임 업체인 소셜인어스(Socialinus)의 김미영 대표, 소셜데이팅업체 이음소시어스를 창업했던 박희은 대표 등이 대표적이다. 최근에는 중소기업을 경영하는 여성 CEO들이 적지 않다. 박근혜 대통령도 여성들의 창업을 적극적으로 지지하고 있다.
태국은 한국과 사정이 조금 다르다. 태국은 한국과 달리 전통적으로 모계 중심 사회였다.(이는 동남아시아 지역의 공통적인 특징이기도 하다.) 2013년 휴먼 레졸루션(Human Revolution) 조사에서는 태국 전체 사업가 중에서 여성 비율이 45.42%로 나타나 세계 최고 수준을 기록하기도 했다. 태국 여성들의 높은 창업 정신을 보여준 사례였다. 태국 전체 노동 인구 중에서 여성 비율은 45.5% 정도이며, 농업 분야는 42.6%, 비농업 분야는 47.2%인데, 특히 서비스업, 교육, 생산, 공무원에 종사하는 여성의 비율은 아시아 태평양 지역 국가 중에서 태국이 가장 높은 편이다. 또한 태국의 여성 사업가들은 '세계를 이끄는 여성 사업가 상'에서 2006년 3명, 2007년 4명의 수상자를 배출하기도 했다.
The BRIDGES Columnist 담롱 탄디 박사
1947년 생. 런던대에서 아시아 인류학을 연구한 뒤 하와이대에서 정치학박사를 받았다. 1991년부터 2011년까지 람캄행대학 교수 및 한국학센터 초대 소장을 지냈다. 한국과 관련 총 33권의 단행권을 발간했으며, 100여 편의 논문을 발표해 태국학자 중에선 한국학의 최고 권위자로 인정받고 있다.
ผู้ประกอบการสตรี: เกาหลีใต้และไทย
ผู้หญิงเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์ความผาสุกให้แก่ครอบครัวและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเคียงคู่กับผู้ชายมานานนับแต่อดีตกาล แต่เนื่องจากภารกิจที่ผู้หญิงต้องรับผิดชอบทั้งงานในครอบครัวและงานนอกบ้าน ทำให้สังคมที่ยึดถือความเป็นใหญ่ของผู้ชาย (patriarchal) กำหนดให้ผู้หญิงต้องเน้นหนักที่การทำงานในบ้านเพื่อดูแลครอบครัวมากกว่า โดยให้ผู้ชายออกไปทำมาหากินนอกบ้าน นำผลผลิตและรายได้มาเลี้ยงดูครอบครัว ลักษณะดังนี้ก่อให้เกิดความแตกต่างในสถานภาพทางสังคมที่ผู้ชายมักได้รับการยกย่องให้สูงกว่า เพราะถือว่าได้ทำงานที่นำไปสู่ความมั่งคั่งและการมีชื่อเสียงของครอบครัวและวงศ์ตระกูล ในทางตรงกันข้าม ในสังคมที่ยึดถือความเป็นใหญ่ของผู้หญิง (matriarchal) ผู้หญิงจะได้รับการยอมรับให้ออกไปทำงานนอกบ้านได้ ควบคู่ไปกับการทำงานในบ้าน ส่วนผู้ชายก็ต้องรับทำงานบ้านเท่าที่จะสามารถทำได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อกาลเวลาผ่านไป ค่านิยมของสังคมได้แปรเปลี่ยน ก่อให้เกิดขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรีที่ต้องการผลักดันให้ผู้หญิงรับบทบาททางเศรษฐกิจนอกบ้าน เพื่อให้สถานภาพทางสังคมสูงขึ้นเคียงคู่กับผู้ชาย ซึ่งค่านิยมนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วโลกยุคใหม่
ตามประเพณีดั้งเดิม ผู้หญิงเกาหลีจะทำงานในบ้าน จัดการงานในครัวเรือน ทำหน้าที่หลักคือให้กำเนิดทายาทและอบรมเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตเป็นคนดีคนเก่งในสังคม นอกจากนี้ การดูแลพ่อแม่สามีก็เป็นภารกิจสำคัญ ส่วนผู้ชายจะออกไปทำงานนอกบ้านเพื่อหาเงินมาเลี้ยงดูสมาชิกในครัวเรือนให้เป็นสุข รวมทั้งทำหน้าที่สร้างชื่อเสียงให้แก่วงศ์สกุลทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ดังนั้นการแต่งงานจึงเป็นเสมือนการแบ่งงานกัน ให้ชาย-หญิงทำงานคนละด้าน ซึ่งแบบแผนการดำเนินชีวิตครอบครัวแบบนี้ได้รับการปฏิบัติเรื่อยมาแม้ในปัจจุบันที่ผู้หญิงได้รับการศึกษาสูง และพวกเธอให้ความสำคัญกับการแต่งงานน้อยลง อีกทั้งยังประสงค์จะดำรงชีวิตอิสระและเข้าสู่ตลาดแรงงานเพื่อยึดงานอาชีพเป็นหลัก แต่การเปลี่ยนแปลงแบบแผนของครอบครัวกลับมีน้อยมาก
อย่างไรก็ตาม สังคมเกาหลีเริ่มเปิดกว้างให้ผู้หญิงมากขึ้นภายหลังจากที่มีการประกาศใช้แผนพัฒนาประเทศฉบับที่หนึ่งเมื่อปี ค.ศ. 1962 โดยผู้หญิงได้เข้าทำงานเป็นแรงงานในบริษัทที่ต้องการแรงงานไร้ฝีมือ ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก เพื่อส่งเงินเลี้ยงดูครอบครัวพ่อแม่ และส่งเสียให้พี่น้องที่เป็นชายเข้าศึกษาในระดับสูง พวกเธอต้องออกจากงานหลังจากแต่งงานและมีลูก ส่วนพนักงานหญิงในสำนักงานก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน คงเหลือแต่ผู้หญิงโสดที่ยังคงทำงานต่อไป แต่ก็มีจำนวนน้อย นอกจากนี้มีผู้หญิงบางคนได้ออกมาตั้งธุรกิจส่วนตัวและกลายเป็นผู้ประกอบการ จากจำนวนธุรกิจเกิดใหม่ 24,842 ราย มีราวร้อยละ 7.3 ที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของกิจการ แต่ธุรกิจที่ผู้หญิงสร้างขึ้นนี้มีเพียงไม่กี่รายที่ประสบความสำเร็จ ธุรกิจกลุ่มเทคโนโลยีในตลาดหลักทรัพย์ KOSDAQ จำนวน 1,212 บริษัท เป็นบริษัทที่ผู้หญิงดำเนินการเพียง 14 บริษัทเท่านั้น ถึงกระนั้นผู้หญิงก็ไม่ย่อท้อ พยายามแหวกทะลุม่านประเพณีของความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมและสร้างธุรกิจในสาขาที่ถนัด เช่น Shim Yeo-lynn ก่อตั้งบริษัท Speakcare ในขณะที่ Michelle Kim สร้าง Socialinus Inc. ซึ่งเป็นธุรกิจเกมออนไลน์ และ Park Hee-un สร้างบริษัทเกมออนไลน์เช่นกัน ชื่อ iumsocius อนึ่ง มีผู้ประกอบการสตรีเกาหลีที่สร้างธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กขึ้นจำนวนไม่น้อย และต่างได้รับความสำเร็จในงานอาชีพระดับหนึ่ง ปัจจุบัน ประธานาธิบดีหญิง นางสาวพัคกึนฮเย ได้ส่งเสริมให้สตรีเกาหลีสร้างธุรกิจของตัวเองให้มีจำนวนมากขึ้น
ในกรณีของสังคมไทยที่ยึดถือความเป็นใหญ่ของผู้หญิง (ซึ่งเป็นค่านิยมของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน) พบว่า สัดส่วนของผู้ประกอบการที่เป็นสตรีมีถึงร้อยละ 45.42 ซึ่งถือเป็นอัตราส่วนสูงที่สุดในโลก (HR: Human Revolution, 2013) แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงไทยมีจิตวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการสูงมาก กล้าเสี่ยง กล้าลงทุนลงแรงทำธุรกิจ กล้าตัดสินใจประกอบกิจการด้วยตนเอง อนึ่ง ประชากรผู้หญิงไทยคิดเป็นแรงงานร้อยละ 45.5 ของแรงงานในระบบทั้งหมด โดยในภาคเกษตรกรรมมีแรงงานสตรีร้อยละ 42.6 และนอกภาคเกษตรกรรมร้อยละ 47.2 แรงงานสตรีในด้านการบริการ (โรงแรม ภัตตาคาร) ด้านการศึกษา (ครูอาจารย์) ด้านการผลิต และด้านการบริหาร-ราชการ อันเป็นสัดส่วนผู้หญิงทำงานสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ นักธุรกิจสตรีไทยยังได้รับรางวัลผู้ประกอบการดีเด่นของโลก (Leading Women Entrepreneurs of the World - LWEW) จำนวนสามรายในปี ค.ศ. 2006 และจำนวนสี่รายในปี 2007 เป็นต้น
The BRIDGES Columnist รศ. ดร. ดำรงค์ ฐานดี
เกิดปี 1947 ผู้อำนวยการศูนย์เกาหบีศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง จบการศึกษา สาขามานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยลอนดอน ปริญญาเอกสาขารัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวาย เคยเป็นอาจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (1988-1990) และผู้บรรยายพิเศษในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง นอกจากนี้ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเกาหลีศึกษาและเขียนหนังสือเกี่ยวกับสังคมบนคาบสมุทรเกาหลีมากกว่า 30 เล่ม และเขียนบทความกว่า 100 บทความ นับเป็นผู้ที่เชี่ยงชาญด้านเกาหลีศึกษาอันดับหนึ่งของไทย
|