Search
  Pictorial (4)
  Thai Society (629)
  Event News (23)
  TAT News (3)
  KOTRA News (0)
  KTO News (0)
  News in News (28)
  MICE (2)
  Hotel News (1)
  Embassy (5)

      한국에서 인기 있는 ‘팩션사극’
 
  한국에서 인기 있는 ‘팩션사극’  
     
   
 

 

현빈이 주연한 영화 ‘역린’은 한국이 ‘조선’이라는 이름의 왕정시대였던 18세기, 반역을 꾀하는 신하들이 왕을 암살하려고 시도했다가 실패한 사건을 그렸다. 현빈이 연기하는 주인공인 정조는 한글을 창제한 세종대왕과 함께 조선시대 가장 훌륭한 왕으로 꼽히는 인물이다. 영화는 아직 즉위한지 얼마되지 않아 세력이 미미한 정조와 당시 정치를 지배했던 반왕권파, 궁궐 내의 내시와 궁녀, 왕의 호위장군과 왕을 죽이려는 자객 등 다양한 인물들의 이야기를 그린다.   
 
이 영화의 이야기는 실제로 역사에 기록된 시건을 바탕으로 하고 있다. 이씨가 왕위를 이어갔던 조선왕조는 한반도에서 1392년부터 1910년까지 계속됐다. 이 시기 왕의 행적과 조정의 일은 하루도 거르지 않고 기록됐는데, 이를 조선왕조실록이라 이른다. 이를 기록한 사관은 왕의 간섭을 받지 않았다. 왕은 전왕대의 기록만을 볼 수 있을 뿐 자신의 재임기간 사관이 남기는 기록은 결코 볼 수 없었다. 500여년간의 역사를 매일의 기록으로 남긴 이 책은 한국에서도 매우 중요한 유산으로 꼽힌다. 한문으로 기록된 이 책은 한글로 번역돼 책으로도 출간이 됐으며, 공공으로 운영되는 홈페이지에서 원문과 번역본을 누구나 열람할 수 있다. 한국에서의 사극은 대부분 이 조선왕조실록으로부터 출발했다. 
 
‘역린’ 역시 조선왕조실록에 기록된 사건을 소재로 하고 있다. 사건의 개요와 주요 인물들은 실제로 기록된 바에 근거해있다. 그러나 드러난 사건의 이면이나 각 인물들의 개인사는 모두 상상에 근거했다. 현빈의 인기를 타고 흥행에 성공한 이 영화는 한국에서 최근 인기 있는 팩션의 경향을 잘 보여준다. ‘팩션’이란 팩트(fact, 역사적 사실)와 픽션(fiction, 허구)라는 단어를 합성한 말이다. 팩션은 사료로 남은 사건과 실존인물을 근간으로 하고, 핵심적인 인과관계를 흐트러뜨리지 않되, 역사가 기록하지 못한 공백을 상상력으로 꾸며내 재구성하는 영상이나 소설 등 서사물을 가리킨다. 여기서 중요한 것은 역사로 드러난 사건과 인물의 이면을 그럴 법한 추리로 창조해내고, 그것으로 역사를 현대적으로 재해석하고 동시대 대중들의 욕망을 반영하는 일이다. 역사를 소재로 한 모든 서사물이 사실과 허구의 요소들을 포함하고 있지만, 다 팩션이라고 이르진 않는다. 팩션으로서의 자격과 완성도를 좌우하는 것은 역사로 기록된 사건의 기승전결이나 실존인물의 행적을 거스르지 않으면서도 전에 없는 추리와 상상으로 사료의 ‘빈 공간’을 채우는 것이다. 팩션과 구별되는 정극 혹은 전통사극은 추리나 상상보다는 기록된 역사의 기승전결이나 인물의 행적을 극적으로 보여주는 데 초점을 맞춘다. 팩션과 흔히 혼동하는 ‘퓨전 사극’은 특정시대를 배경으로 하나 정사나 왕조사 중심에서 벗어나 가상 인물 혹은 사료에서 중요하게 취급되지 않은 인물을 주인공으로 하고, 정치와 권력투쟁보다는 멜로나 액션에 치중하며, 당대의 복식이나 언어, 풍속 등을 그리는데 고증보다는 현대인들의 감각에 맞도록 스타일화한 사극을 가리킨다. 


 
그러나 팩션과 픽션, 전통사극, 퓨전사극의 경계는 애매하며 최근의 역사드라마는 어느 정도 팩션을 지향한다. 창작자들에게는 고증의 압박이나 역사왜곡 논란을 비껴나 좀 더 자유로운 상상을 펼칠 수 있는 가능성을 제공하기 때문이다. 그리고 무엇보다 중요한 것은 팩션이 대중들의 욕망과 지향을 반영하고 있다는 점이다. 이른바 거대담론이 무너지고 예기치 못한 사건이나 납득불가능한 현상이 잇따르는 현대 세계에서 ‘인지부조화’를 겪는 대중들이 쉽게 빠져드는 것이 바로 각종 음모이론이며, 이것이 역사에 적용된 형태가 바로 ‘팩션’이라고 볼 수 있는 것이다. 본격 팩션으로 불리는 움베르토 에코의 ‘장미의 이름’이나 댄 브라운의 ‘다빈치 코드’를 떠올리면 금방 이해가 간다. 
 
한국에선 팩션의 요소가 짙은 사극이  TV나 영화, 소설로 큰 인기를 끌고 있다. TV드라마로는 ‘정도전’과 ‘기황후’가 현재 큰 인기를 끌고 있으며 몇 년간 ‘이산’ ‘대장금’ ‘다모’ ‘해를 품은 달’ ‘뿌리깊은 나무’ 등이 등이 아시아 전역에서 흥행에 성공했다. 영화로는 한국에서 1000만명을 넘긴 ‘왕의 남자’와 ‘광해’를 비롯해  ‘관상’ ‘역린’ 등이 있다. 앞으로도 ‘군도:민란의 시대’ ‘바다로 간 산적’ ‘명량: 회오리바람’ 등이 개봉 예정이다. 
 
팩션이든, 전통사극이든, 퓨전사극이든, 우리의 사극으로 돌아오면 역사적 기록의 틈을 파고들어 펼쳐낸 상상의 공간은 결국 대중의 열망에 바쳐진다. ‘역린’은 정조를 세상에서 가장 젊고 아름다운 육체를 가졌으며 누구보다도 따뜻한 가슴을 간직했고, 용의주도한 전략과 지성, 그리고 누구라도 베어낼 수 있는 전투능력을 소유하고 있는 인물로 그려낸다. 현빈의 정조는 결국 현실에 없어 더욱 간절한, 지혜롭고 헌신적이며 정의로운 영웅이다. ‘정도전’에서 정도전은 난세에 이상 국가로서의 조선을 설계하려 했던 지식인이며, ‘기황후’에서 기황후는 남성으로 둘러싸인 국가, 왕조간 권력투쟁에서 성공한 여성지도자다. 당대최고의 관상쟁이라는 가상의 인물의 눈을 통해 김종서와 수양대군의 대결을 그린 ‘관상’은 피눈물없는 권력자들의 쟁투가 아니라 이름없는 이들의 연민과 의리, 그리고 혈육의 정이야말로 슬프지만 가장 아름다운 것이라고 말한다. 역사라는 퍼즐의 마지막 한 조각을 상상으로 메우는 팩션은, 그러므로 한국의 대중들이 역사를 스스로 설득하는 방식이자 스스로에게 보내는 위안인 것이다.

The BRIDGES Columnist 이형석
1998년 영화평론가로 등단했으며, 1999년 스포츠조선을 거쳐 2003년부터 현재까지 헤럴드경제 문화부 기자로 재직중이다. 제 85회 아카데미 영화상 한국영화 출품작 선정 심사위원(2012), 부천국제영화제 심사위원(2010), 영화진흥위원회 자막 프린트제작 지원 심사위원(2010) 등을 맡았다.

 





ละครย้อนยุค “Faction” กำลังเป็นที่นิยมในเกาหลี

    ภาพยนตร์เรื่อง “The Fatal Encounter” ที่ฮยอนบินแสดงนำ พูดถึงความล้มเหลวของพวกขุนนางกบฎในการลอบปลงพระชนม์กษัตริย์ในสมัยศตวรรษที่ 18 ครั้งที่เกาหลียังเป็นราชวงศ์โชซอน บทพระเจ้าจองโจที่ฮยอนบินแสดงนั้นนับว่าเป็นกษัตริย์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดในสมัยโชซอน เช่นเดียวกับพระเจ้าเซจงมหาราชผู้ประดิษฐ์อักษรเกาหลี ภาพยนตร์เป็นเรื่องราวของตัวละครต่างๆ เช่น พระเจ้าจองโจที่เพิ่งขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน และยังไม่มีอำนาจมาก ฝ่ายตรงข้ามกษัตริย์ที่กุมอำนาจทางการเมืองอยู่ ขันทีและนางกำนัล หัวหน้าองครักษ์ และมือสังหาร

    เรื่องราวในภาพยนตร์นำเค้าโครงมาจากเหตุการณ์จริงที่ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ราชวงศ์โชซอนถูกปกครองโดยตระกูลอีอย่างยาวนานต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 1935 ถึง พ.ศ. 2453 พระราชกรณียกิจและทุกสิ่งเกี่ยวกับกษัตริย์ในยุคนี้ถูกบันทึกไว้ไม่มีขาด บันทึกนี้เรียกว่าจดหมายเหตุราชวงศ์โชซอน มหาดเล็กผู้ทำหน้าที่บันทึกจะไม่ถูกแทรกแซงจากกษัตริย์ กษัตริย์ขอดูบันทึกของกษัตริย์องค์ก่อนได้ แต่ไม่สามารถดูบันทึกในช่วงที่ตนเองครองราชย์ได้ จดหมายเหตุนี้ถูกบันทึกไว้ทุกวันเป็นเวลานานกว่า 500 ปี ถือเป็นมรดกสำคัญที่สุดในเกาหลี จดหมายเหตุบันทึกด้วยตัวอักษรจีน ภายหลังได้รับการแปลเป็นตัวอักษรเกาหลีและพิมพ์เป็นหนังสือออกวางขาย แต่ก็สามารถหาอ่านได้ฟรีทั้งตัวต้นฉบับและฉบับแปลบนเว็บไซต์ที่ให้บริการแก่สาธารณะ ละครย้อนยุคส่วนใหญ่ของเกาหลีนำเรื่องราวมาจากจดหมายเหตุราชวงศ์โชซอนฉบับนี้

    “The Fatal Encounter” เองก็นำเค้าโครงมาจากบันทึกในจดหมายเหตุราชวงศ์โชซอน เค้าโครงเหตุการณ์และตัวละครหลักเป็นบุคคลจริง แต่รายละเอียดเบื้องหลังเหตุการณ์และเรื่องราวส่วนตัวของตัวละครนั้นเป็นจินตนาการ ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จด้านรายได้เพราะความนิยมในตัวฮยอนบิน และแสดงให้เห็นถึงกระแส Faction ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ที่เกาหลี

    “Faction” เป็นคำผสมระหว่างคำว่า “Fact” (ข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์) กับคำว่า “Fiction” (เรื่องแต่ง) Faction จึงหมายถึงนวนิยายหรือภาพยนตร์ที่ถูกนำมาเรียบเรียงใหม่โดยมีพื้นฐานมาจากเหตุการณ์จริงและบุคคลที่มีอยู่จริงตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเหตุและผลที่เป็นหัวใจสำคัญ แต่มีการเติมส่วนที่ไม่ได้ถูกบันทึกไว้ด้วยจินตนาการแทน สิ่งสำคัญในจุดนี้ก็คือการคาดคะเนความเป็นไปได้ถึงเบื้องลึกของตัวละคร เหตุการณ์ที่ปรากฎในประวัติศาสตร์ และนำประวัติศาสตร์มาตีความใหม่ให้ทันสมัย สะท้อนความปรารถนาของประชาชนในยุคสมัยนั้น เรื่องเล่าจากประวัติศาสตร์มีทั้งเรื่องจริงและเรื่องแต่งปะปนกัน แต่ก็ไม่ได้ถือว่าเป็น Faction ทั้งหมด สิ่งที่ชี้ถึงคุณสมบัติและความสมบูรณ์ในการเป็น Faction ก็คือ ต้องไม่เปลี่ยนแปลงลำดับเหตุการณ์และร่องรอยของบุคคลที่มีอยู่จริงที่ถูกบันทึกไว้ และเติมเต็ม “ช่องว่าง” ของประวัติศาสตร์ด้วยจินตนาการและการคาดเดาที่ไม่เคยมีมาก่อน ละครย้อนยุคแบบดั้งเดิมนั้นต่างจาก Faction ตรงที่นำเสนอเรื่องราวของบุคคลและลำดับเหตุการณ์จริงจากประวัติศาสตร์ มากกว่าการจินตนาการและการคาดเดา ส่วนละครย้อนยุคฟิวชันที่มักจะสับสนกับ Faction อยู่เสมอนั้น พื้นหลังของเหตุการณ์จะเป็นช่วงสมัยหนึ่ง แต่จะเน้นไปที่เรื่องของเหตุการณ์บ้านเมืองหรือราชวงศ์ ตัวละครเอกอาจจะสมมติขึ้นหรือมีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ เนื้อหาเป็นแนวรักใคร่หรือแอ็กชั่นมากกว่าการเมืองและการแย่งชิงอำนาจ ส่วนขนบธรรมเนียม ภาษา และเครื่องแต่งกายเป็นของยุคนั้นๆ แต่ปรับให้ตรงกับสมัยปัจจุบันมากกว่าที่จะตรงตามประวัติศาสตร์

    ขอบเขตของ Faction, Fiction, ย้อนยุคดั้งเดิม และย้อนยุคฟิวชัน ไม่ชัดเจนมากนัก ละครย้อนยุคประวัติศาสตร์ในช่วงนี้มุ่งไปที่การทำ Faction เนื่องจากผู้แต่งสร้างจินตนาการได้อย่างเป็นอิสระ หลีกเลี่ยงความกดดันในการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หรือการบิดเบือนประวัติศาสตร์ และที่สำคัญมากไปกว่านั้นก็คือ Faction เป็นการสะท้อนความปรารถนาและจุดมุ่งหมายของประชาชน หรือกล่าวได้ว่า เนื่องจากประชาชนต้องเผชิญกับ “ความขัดแย้งทางความคิด” ในโลกปัจจุบันที่มักมีเหตุการณ์ไม่คาดคิด หรือปรากฎการณ์ที่ยากต่อการเข้าใจ สิ่งที่จะสามารถทำให้หลงใหลไปได้ก็คือทฤษฎีสมคบคิด เราจะเข้าใจ Faction ได้ง่ายขึ้นถ้านึกถึง “สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ” ที่แต่งโดย อุมแบร์โต เอโก หรือ “รหัสลับดาวินชี” ของ แดน บราวน์

    ที่เกาหลี ละครทีวี ภาพยนตร์ หรือนวนิยายที่มีเนื้อหาแบบ Faction กำลังได้รับความนิยม สำหรับละครทีวีนั้น “Jeong Do Jeon” และ “Empress Ki” ได้รับความสนใจสูงมาก รวมไปถึงเรื่อง “Yi San”, “แดจังกึม”, “Damo”, “The Moon that  Embraces the Sun” และ “Deep Rooted Tree” ที่ประสบความสำเร็จทั่วเอเชียเมื่อหลายปีก่อน สำหรับภาพยนตร์นั้น นอกจาก “King and the Clown” และ “Masquerade” ที่มีคนเข้าชมเกิน 10 ล้านคนแล้ว ยังมี “The Face Reader”, “The Fatal Encounter” ตลอดจน “Kundo: Age of the Rampant”, “Pirates” และ “Roaring Currents” ที่กำลังจะเข้าฉายในอีกไม่นาน

    ไม่ว่าจะเป็นแนว Faction ย้อนยุคดั้งเดิม หรือย้อนยุคฟิวชัน สุดท้ายแล้วส่วนที่เติมช่องว่างของบันทึกทางประวัติศาสตร์และจินตนาการที่โลดแล่นก็คือ การสะท้อนถึงความปรารถนาของประชาชน ในเรื่อง “The Fatal Encounter” วาดภาพให้พระเจ้าจองโจเป็นกษัตริย์ที่มีพระชนมายุน้อย มีร่างกายที่งดงามที่สุด มีจิตใจที่อบอุ่นกว่าผู้ใด มีกลยุทธ์ที่ละเอียดรอบคอบ ทั้งฝีมือการต่อสู้ก็ไม่เป็นรองใคร พระเจ้าจองโจฉบับฮยอนบินเป็นวีรบุรุษที่ปราชญ์เปรื่อง เสียสละ และยุติธรรม ซึ่งเป็นที่ต้องการมากในปัจจุบัน ส่วนจองโดจอนจากเรื่อง “Jeong Do Jeon” เป็นนักปราชญ์ที่ต้องการก่อตั้งโชซอนซึ่งเป็นประเทศในอุดมคติท่ามกลางความขัดแย้ง จักรพรรดินีกีจาก “Empress Ki” เป็นผู้นำหญิงที่ประสบความสำเร็จท่ามกลางการแย่งชิงอำนาจของพวกผู้ชาย ขณะที่ “The Face Reader” เป็นการแย่งชิงระหว่างคิมจงซอและองค์ชายซูยัง ผ่านสายตาของตัวละครสมมติซึ่งเป็นหมอดูโหงวเฮ้งที่เก่งที่สุดในขณะนั้น เรื่องนี้นำเสนอความงดงามอันน่าเศร้าของความผูกพันในครอบครัว ความจงรักภักดี และความเห็นอกเห็นใจของพวกเขา มากกว่าการต่อสู้ของผู้มีอำนาจ Faction ที่เป็นการเติมเต็มชิ้นส่วนสุดท้ายของปริศนาในประวัติศาสตร์ด้วยจินตนาการ จึงเป็นวิธีที่ประชาชนเกาหลีโน้มน้าวประวัติศาสตร์และปลอบประโลมตัวเอง

The BRIDGES Columnist ลีฮยองซอก