세계 교역 1위의 태국 쌀
태국을 찾는 한국 관광객이 가장 먼저 접하는 것이 음식이다. 한국인도 태국인처럼 쌀을 주식으로 하기 때문에 쌀로 만든 음식을 찾게 마련이다. 볶음밥을 주로 찾지만 해산물을 먹어도 밥을 결들이게 마련이다. 그런데 태국 쌀은 흔히 부르는 장립종으로 indica 종인데 쌀이 가늘고 길며 찰기가 별로 없다. 한국에서 생산되는 쌀은 쌀알이 굵으며 윤기가 나고 찰기가 약간 있는 Japonica 종인데 흔히 단립종이라고도 부른다. 이런 단립종 맛에 익숙한 한국인 입맛에는 태국산 장립종이 맛이 없다. 백미(white rice) 는 찰기가 없어 푸석하게 바람에 날린다고 혹평하기도 한다.
그러나 각종 야채나 고기와 더불어 맛있게 볶거나 요리한 밥은 그 향과 맛을 즐기기도 하고 장립종이라도 향미라고 부르는 홈마리 쌀은 제법 맛이 좋다. 필자처럼 태국에 오래 살고 있는 한국인은 홈마리 쌀에 찹쌀을 10~20% 정도 섞어서 밥을 지으면 오히려 한국산 단립종 쌀보다 더 맛있고 소화도 잘 되어 매우 즐긴다.
태국은 연간 3,000만 톤 이상의 벼를 수확하고 여기서 정미하고 나면 2,200만 톤 상당의 쌀이 생산되고 연간 1,000만 톤 안팎으로 수출을 하여 세계 제1의 쌀 수출국의 명예를 안고 있다. 최근 정부의 쌀고가수매 정책으로 수출가격이 경쟁국인 베트남이나 인도산 쌀 가격과 경쟁이 힘들어 수출이 부진하다보니 1위라는 타이틀을 잃었지만 조만간 그 명예를 회수하리라 본다. 세계 쌀 연구원 통계에 따르면 최대 생산국가는 중국으로 세계 생산량의 31%를 생산하고 있으며 인도 20%, 인도네시아 9% 순이다, 세계 교역 양상은 생산량의 5~6%만 거래될 정도인데 태국이 세계 수출량의 25% 안팎을 차지하고 있다. 쌀 수출 시장에서는 태국이 단연 독보적인 위치를 지키고 있다. 그러나 최근 몇 년 간 가격정책이 잘못 되었는지 베트남과 인도의 추격에 밀리고 있어 안타까울 뿐이다.
한국의 주식 쌀, 자급자족 가능
한국도 쌀이 주식이며 자급자족하고 있다. 자고로 ‘농자천하지대본 (農者天下之 大本)’ 이라 하여 농업을 숭상하고 농민을 우대하였으며 농사에 따른 절기가 전통적인 명절로 지금까지도 모든 한국인이 정월 대보름, 추석, 동지 등 명절을 즐기고 있다. 한국 경제개발이 본격적으로 시작된 1970년도에는 390만 톤 정도 생산되던 쌀 농사를 확대하고 생산량을 늘리기 위해 품종 개발, 경작 방법 개선 등을 노력하여 20년 만인 1990년 560만 톤을 생산하여 40% 이상 늘어났다. 그러나 공업화가 본격적으로 진행되면서 1990년대 말부터 농지가 줄어들고 생산량도 감소하기 시작하여 2004년 500만 톤으로 줄었으며 2012년에는 400만 톤 수준으로 떨어졌지만 그래도 수요를 충분히 채울 수 있었다. 경제가 발전하면서 국민들의 식단이 쌀을 대신 고기, 빵, 국수 등으로 다양하게 변화하면서 쌀 수요가 줄어들었기 때문이다.
한국 쌀 40만 톤 수입 의무, 향후 완전 개방 준비
경제성장을 이룬 한국이 WTO 에 가입하면서 쌀 수입이 의무화되었다. 한국은 WHO 협정에 의해 약 10여 년 전부터 쌀 수입 개방을 하게 되었는데 일반 업자에게 수입자유화가 된 게 아니라 정부투자기관인 농수산물유통공사에서 입찰 방법으로 일정 물량을 통제 수입하고 있으며 시장 최소접근 물량 (MMA - Market Minimize Access)으로 협상하여 지금에 이르고 있지만 그 기간이 올해 끝나므로 올 10월까지 한국은 2가지 중 하나를 선택해야 할 입장이다. 그 첫째는 지금처럼 MMA를 유지할 것인가 아니면 완전 개방을 할 것인가 중에 선택해야 한다.
MMA를 유지한다면 매년 한국 쌀 생산량의 9~10%를 추가 수입해야 하며 수입량의 30%를 소비자용 시판목적으로 소화해야 한다. 금년도 한국 쌀 생산량이 4백만 톤 정도로 예상되므로 올해 수입해야 할 수량이 약 40만 톤이 된다. 이 경우 한국 쌀 소비가 줄어들고 있는 실정에서 매년 쌀 수입량을 상향해야 한다는 게 문제이다.
한국은 태국에서도 매년 3만 톤 이상 수입하고 있는데 주로 Non-Glutinous Milled Rice Long Grain (Indica Type, White or Brown) 종류인데 대부분 공업용으로 소비하고 있다. 한국이 최근 10년간 수입하고 있는 수입 의무량은 다음과 같다.
완전 개방을 한다면 고율의 관세 부과 및 비관세 장벽 등으로 수입을 억제해야 하는데 공산품 수출 등 수출주도 경제 구조의 한국 입장에서 쌀 수출국의 압박으로 관세 인하 및 비관세 장벽을 낮추어야 할 수 밖에 없는 위치에 있다는 어려움이 있다.
태국 쌀, 한국 시장 진출 기대
한국은 농민을 보호하고 자급자족 생산을 유지하면서 쌀 수입을 의무적으로 늘려야 할 난처한 입장이지만 정치적으로 외교적으로 잘 해결할 수 있으리라 본다. 한편 소비자용은 한국인의 쌀 기호에 따라 한국산과 같은 japonica 쌀을 생산하는 미국, 카나다 등에서 주로 수입할 것이고 산업용으로는 태국산 쌀을 수입 활용할 수 있을 것이다.
그러나 태국산 쌀 가격이 지금처럼 국제 교역 시장에서 경쟁력을 갖추지 못한다면 한국도 수입하기 힘들다. 어떤 국내적인 요인이든 간에 예년처럼 수출 1위 국가의 위상을 찾으려면 국제 시장에서 경쟁적인 품질과 가격을 제시할 수 있어야 한다. 한국은 쌀 품질 기준을 미국 표준으로 규정하고 있는데 태국은 자체 고유의 품질 기준만 고수하고 있다. 무역 거래에서는 상대국 품질 기준에 맞게 적용할 수 있는 여유도 필요할 것 같다.
지난 2010년부터 실시하고 있는 한-아세안 FTA 에서 태국산 쌀은 초민감품목으로 아직까지도 자유무역 혜택 품목이 아니다. 그러나 쌀은 태국의 주요 수출품목이며 한국은 의무적으로 일정한 물량을 수입해야 하므로 양국이 현명한 방법을 찾아 서로가 win-win 하는 관계를 이룰 수 있기를 기대한다.
<번역참고>
농수산물유통공사 - Agro-Fisheries & Food Trade Corp. (aT Corp.)
농림축산식품부 - Ministry of Agriculture, Food and Rural Affairs (Mafra)
The BRIDGES Columnist 박동빈
서강대를 졸업하고 미국 CP Overseas 한국 및 홍콩지사에 근무했다. 현재 무역회사인 POHIT Corp 대표 및 UMASS Co., Ltd 태국 지사장으로 재직 중이며 한태상공회의소 부회장, OKTA 태국지회 부회장, Korea ASEAN Business Network 태국지역회장을 맡고 있다. 15년 간 태국에 상주한 경험을 바탕으로 한태 상공인에게 태국 실물경제 정보를 제공하는 봉사활동을 펼치고 있다.
Rice of Thailand and Korea
ข้าวไทยและข้าวเกาหลี
ข้าวไทย อันดับ 1 การค้าของโลก
สิ่งแรกที่นักท่องเที่ยวเกาหลีพบเจอเป็นอย่างแรกเวลาเดินทางมาไทยก็คืออาหาร คนเกาหลีกินข้าวเป็นอาหารหลักเหมือนคนไทย ทำให้มองหาอาหารที่ทำจากข้าว ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวผัด หรือถ้าทานอาหารทะเลก็จะกินคู่กับข้าว ข้าวของไทยเป็นสายพันธุ์อินดิกา (Indica) เมล็ดมีลักษณะเรียวยาวและไม่มีความเหนียว ส่วนข้าวที่ปลูกในประเทศเกาหลีนั้นเป็นพันธุ์จาปอนิกา (Japonica) มีลักษณะอวบสั้น มันเงา และมีความเหนียวเล็กน้อย ดังนั้นข้าวไทยจึงไม่ค่อยเป็นที่ถูกปากชาวเกาหลีที่คุ้นเคยกับข้าวสายพันธุ์เมล็ดสั้น ยังมีการวิจารณ์ด้วยว่าข้าวขาว (White Rice) ไม่มีความเหนียว และยังร่วนอีกด้วย
แต่เมื่อนำข้าวไปผัดกับผักหรือเนื้อสัตว์ต่างๆ แล้วทำให้อร่อยไปกับกลิ่นและรสชาติ โดยเฉพาะข้าวหอมมะลินั้นอร่อยมากทีเดียว คนเกาหลีที่อาศัยอยู่ที่ไทยนานๆ แบบผู้เขียนจะหุงข้าวโดยผสมข้าวเหนียว 10-20% ลงไปในข้าวหอมมะลิ ข้าวที่ได้จะอร่อยและย่อยง่ายกว่าข้าวเกาหลีเสียอีก
ประเทศไทยเกี่ยวข้าวได้ปีละกว่า 30 ล้านตัน และเมื่อนำไปขัดสีแล้วจะได้ข้าวสารประมาณ 22 ล้านตัน ส่งออกปีละประมาณ 10 ล้านตัน ครองอันดับ 1 ประเทศผู้ส่งออกข้าวของโลก ไม่นานมานี้ด้วยนโยบายจำนำข้าวราคาสูงของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทำให้มูลค่าการส่งออกข้าวของไทยลดลง เพราะสู้ราคาข้าวของประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามและอินเดียไม่ได้ จนเสียตำแหน่งอันดับ 1 ไป แต่เชื่อว่าอีกไม่นานก็จะสามารถคว้าตำแหน่งเดิมกลับมาครองได้ ตามสถิติของสถาบันวิจัยข้าวโลก ประเทศผู้ผลิตข้าวได้มากที่สุดก็คือ จีน โดยผลิตข้าวได้ 31% ของปริมาณข้าวที่ผลิตทั้งโลก อินเดีย 20% และอินโดนีเซีย 9% การค้าข้าวของโลกนั้นมีการค้าขายอยู่ที่ประมาณ 5-6% ของปริมาณการผลิต ประเทศไทยมีปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 25% ของโลก ในตลาดการส่งออกข้าวแต่เดิมนั้น ไทยครองตำแหน่งนำหน้าอยู่เพียงผู้เดียว แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะนโยบายผิดพลาดหรือไม่ ทำให้ถูกเวียดนามกับอินเดียแซงไปอย่างน่าเสียดาย
ข้าว อาหารหลักของเกาหลี ผลิตเองกินเอง
เกาหลีทานข้าวเป็นอาหารหลักเช่นกัน และปลูกเองกินเอง ด้วยความเชื่อที่มีมาแต่โบราณว่า “เกษตรกรรมเป็นรากฐานของการดำรงอยู่ของชาติ” ทำให้มีการเคารพนับถือเกษตรกรรม และให้ความสำคัญกับเกษตรกร คนเกาหลียังคงสืบสานปฏิทิน 24 ฤดูเป็นเทศกาลสำคัญมาจนถึงตอนนี้ เช่น เทศกาลจองวอล แดโพรึม (พระจันทร์เต็มดวงเดือนอ้าย) เทศกาลชูซอก (ขอบคุณพระเจ้า) และ เทศกาลทงจี (ตงจื้อ) เป็นต้น ในช่วงปี 1970 ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจเกาหลีอย่างจริงจังนั้น มีการขยายการทำนาโดยปลูกข้าวได้ประมาณ 3.9 ล้านตัน และมีความพยายามพัฒนาสายพันธุ์ข้าว ตลอดจนวิธีเพาะปลูกเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิต ทำให้ภายในระยะเวลา 20 ปี หรือในปี 1990 สามารถผลิตข้าวไทยได้ 5.6 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 40% แต่หลังจากก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ทำให้ช่วงปลายปี 1990 จำนวนไร่นาลดน้อยลง ปริมาณการผลิตจึงลดลงตามไปด้วย ในปี 2004 ลดลงเหลือ 5 ล้านตัน และในปี 2012 เหลือเพียง 4 ล้านตัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังคงเพียงพอต่อความต้องการอยู่ เมื่อเศรษฐกิจพัฒนาก้าวหน้า อาหารที่ประชาชนทานมีความหลากหลายมากขึ้น มีทางเลือกเพิ่มขึ้น เช่น เลือกทานเนื้อสัตว์ ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยวแทนข้าว ทำให้ความต้องการข้าวค่อยๆ ลดลง
หน้าที่นำเข้าข้าว 4 แสนตันของเกาหลี และเตรียมเปิดตลาดเต็มตัวในอนาคต
เกาหลีมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเมื่อเข้าร่วมองค์การการค้าโลก (WTO) จึงมีหน้าที่ในการนำเข้าข้าว ตามข้อตกลงของ WTO เกาหลีเปิดนำเข้าข้าวมาตั้งแต่ราว 10 ปีก่อน โดยไม่ได้เป็นการนำเข้าแบบอิสระจากผู้ประกอบการทั่วไป แต่เป็นการจำกัดปริมาณการนำเข้าโดยวิธีประมูลโดยAgro-Fisheries & Food Trade Corp. (aT Corp.) ซึ่งเป็นหน่วยงานลงทุนของรัฐ แม้ปัจจุบันจะเป็นการตกลงโดยใช้ระบบกำหนดปริมาณนำเข้าขั้นต่ำ (MMA – Minimum Market Access) แต่ข้อตกลงนี้กำลังจะหมดอายุลงในปีนี้ ในเดือนตุลาคม เกาหลีต้องเลือกหนึ่งจากสองทาง คือจะใช้ระบบ MMA ต่อไป หรือจะเปิดตลาดเต็มตัว
ถ้ายังคงใช้ระบบ MMA ต่อไป ทุกปีจะต้องเพิ่มการนำเข้า 9-10% ของปริมาณการผลิตข้าวเกาหลี และจะต้องมีการจำหน่ายในตลาดสำหรับผู้บริโภคให้ได้ 30% ของปริมาณการนำเข้า คาดว่าในปีนี้ปริมาณการผลิตข้าวของเกาหลีจะอยู่ที่ 4 ล้านตัน ปริมาณที่จะต้องนำเข้าจึงอยู่ที่ 4 แสนตัน ในกรณีนี้ปัญหาก็คือ ทุกปีจะต้องเพิ่มปริมาณการนำเข้าข้าว จากสถานการณ์การบริโภคข้าวเกาหลีที่ลดลง
เกาหลีนำเข้าข้าวจากประเทศไทยปีละกว่า 30,000 ตัน ส่วนใหญ่เป็นข้าวพันธุ์ Non-Glutinous Milled Rice Long Grain (Indica Type, White or Brown) โดยนำไปใช้สำหรับอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปริมาณการนำเข้าตามหน้าที่ของเกาหลีในช่วง 10 ปีล่าสุดเป็นดังนี้
หากเปิดตลาดแบบเต็มตัว เกาหลีจะสามารถควบคุมการนำเข้าด้วยการจัดเก็บภาษีในระดับสูง และสามารถใช้การกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี สำหรับเกาหลีที่มีโครงสร้างเศรษฐกิจที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก เช่น ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้น จะต้องลำบากกับการอยู่ในสถานะจำยอมโดยลดการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี และการลดภาษีจากการกดดันของประเทศผู้ส่งออกข้าว
ความคาดหวังในการส่งออกข้าวไทยไปยังตลาดเกาหลี
แม้ว่าเกาหลีจะตกอยู่ในสถานะลำบากที่จะต้องเพิ่มการนำเข้าข้าวโดยหน้าที่ พร้อมๆ กับที่ต้องปกป้องเกษตรกรและปลูกข้าวเองใช้เองก็ตาม แต่หวังว่าจะสามารถแก้ไขได้ด้วยนโยบายทางการเมืองและการทูต การนำเข้าข้าวสำหรับบริโภคนั้นจะมาจากประเทศอเมริกาหรือแคนาดาที่ปลูกข้าวสายพันธุ์จาปอนิกาเช่นเดียวกับเกาหลี ส่วนการนำเข้าข้าวไทยจะใช้สำหรับอุตสาหกรรม
แต่ถ้าหากราคาข้าวไทยยังคงไม่มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลกเช่นนี้ เกาหลีก็คงจะนำเข้าข้าวไทยลำบาก ถ้าหากไทยต้องการจะกลับไปอยู่ในตำแหน่งอันดับ 1 ของการส่งออกข้าวเหมือนเมื่อก่อน จะต้องเสนอราคาและคุณภาพที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล เกาหลีกำหนดมาตรฐานคุณภาพข้าวโดยใช้มาตรฐานของอเมริกา แต่ไทยยึดถือมาตรฐานคุณภาพในแบบของตนเอง แต่ในการค้าขายนั้นจำเป็นต้องมีการยืดหยุ่นให้ตรงกับมาตรฐานคุณภาพของประเทศคู่ค้าด้วย
จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีเกาหลี-อาเซียน ที่เริ่มมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2010 ข้าวไทยยังคงเป็นสินค้าในหมวดอ่อนไหวสูง (Very Sensitive) ไม่ได้อยู่ในหมวดพิเศษการค้าเสรี แต่เนื่องจากข้าวเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย และเกาหลีมีหน้าที่ต้องนำเข้าในปริมาณที่กำหนด ดังนั้นจึงหวังว่าทั้งสองประเทศจะสามารถหาวิธีการที่ชัดเจน เพื่อให้มีความสัมพันธ์ที่ win-win ทั้งสองฝ่าย
The BRIDGES Columnist พัคดงบิน / David Bak
จบจากมหาวิทยาลัย Sogang เคยทำงานที่ America CP Overseas and Hong Kong Branch ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานหอการค้าเกาหลี-ไทย รองประธาน OKTA (Overseas Korean Traders Association) สาขากรุงเทพฯ และเป็นประธาน Korea ASEAN Business Network ในประเทศไทย พัคดงบินอาศัยอยู่ที่ประเทศไทย 15 ปีแล้ว
|